ขนมโคกะทิ ขนมไทยประจำท้องถิ่นของภาคใต้ที่เริ่มจะสูญหายไปในปัจจุบัน ซึ่งมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ โดยชูวัตถุดิบอย่างมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนดให้หอมหวนชวนหิวอย่างเต็มที่ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 สูตรด้วยกัน คือ ขนมโคแห้งและขนมโคกะทิ โดยขนมโคแห้งนั้นจะเป็นตัวแป้งที่สอดไส้ด้วยก้อนน้ำตาลโตนดหรือน้ำตาลแว่น
โดยคลุกเคล้าด้วยมะพร้าวแห้ง ในขณะที่ขนมโคกะทิ จะเป็นการสอดไส้ด้วยมะพร้าวผัดกับน้ำตาลมะพร้าวที่ราดด้วยน้ำกะทิเค็ม ๆ มัน ๆ ซึ่งทั้งสองก็มีความแตกต่างกันในขั้นตอนการทำ ซึ่งสามารถศึกษาได้จากตำราออนไลน์ทั่วไป และสำหรับวันนี้เรามีเทคนิคไม่ลับในการเพิ่มขนมโคกะทิ ให้หอมหวน ชุ่มฉ่ำและละมนุลิ้นมากขึ้น

เคล็ดลับการทำ ขนมโคกะทิ ขนมไทยประจำท้องถิ่นของภาคใต้
1. สัมผัสของตัวแป้งคือผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบ นอกจากวัตถุดิบที่ต้องสดใหม่และมีคุณภาพแล้ว ความพิถีพิถันในการทำแป้งซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักอันดับแรก ที่จะส่งผลต่ออรรถรสในการเคี้ยวมากขึ้น โดยขั้นตอนการนวดแป้งนั้น ให้ค่อย ๆ เทน้ำลอยดอกมะลิและ ค่อย ๆ นวดไป เพื่อให้แป้งมีความเหนียวนุ่มมากขึ้น และในช่วงที่นำไปต้มกับน้ำเดือดหลังจากปั้นและสอดไส้เรียบร้อยแล้ว ในขณะที่แป้งเริ่มสุกและลอยตัวขึ้นมาควรทิ้งไว้อีกสักประมาณ 1 นาที จึงจะตักให้สะเด็ดน้ำในลำดับถัดมา ควรให้สะเด็ดที่สุด)

2. ไส้และน้ำกะทิ คือนิยามความอร่อย ลำดับของการทำไส้ขนมนั้นต้องคัดวัตถุดิบที่เหมาะสม เช่น น้ำตาลมะพร้าวเกรดดี หรือมะพร้าวทึนทึกที่กึ่งอ่อนกึ่งแก่ เพื่อส่งผลต่อรสชาติโดยรวมของไส้ทั้งหมดโดยขั้นตอนการผัดไส้ ก็สามารถทำตามตำราอื่น ๆ ได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องหมั่นดูเรื่องไฟในขณะที่ผัด เช่น การใช้ไฟกลางในขณะที่คนจนน้ำตาลละลายหมด แล้วจึงหรี่ไฟจนอ่อนและผัดจนแห้งตามลำดับ ในส่วนการทำน้ำกะทิราดนั้นก็ไม่ยุ่งยากมาย เพียงแค่ผสมเกลือ แป้งข้าวโพด กะทิ น้ำตาล และใบเตย คนจนละลายข้ากันแล้วจึงตั้งเตาโดยใช้ไฟอ่อนตลอดตามลำดับ

3. สร้างสีสัน มูลค่าและอรรถรสของตัวขนม หากต้องการเพิ่มอรรถรสที่มากขึ้น ก็ควรเพิ่มลูกเล่นและสีสันง่าย ๆ จากสีธรรมขาติ ซึ่งนิยมใช้ เขียวใบเตย หรือม่วงอัญชัน ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น โดยให้ผสมแทนน้ำลอยดอกไม้ ในขณะที่นวดแป้งได้เลยและเมื่อได้ขนมโคกะทิที่ราดด้วยน้ำกะทิสมบูรณ์แล้วก็ควรปิดท้ายด้วยงาขาวคั่ว เพื่อตัดกับความกลมกล่อมของตัวแป้งกับน้ำกะทิให้หอมหวนและสะดุดตายิ่งขึ้นไปอีก
ขนมโคกะทิ ดูเผิน ๆ ภายนอก อาจคล้ายกับขนมบัวลอยหรือขนมหัวล้านแต่ความซับซ้อน ของรสชาติที่มีความนุ่มนวล หนึบหนับสอดไส้ความหวานฉ่ำของมะพร้าวผัดที่ตัดกับความมันเค็มของน้ำกะทิได้อย่างตัวนั้น เป็นสิ่งที่ชูจุดเด่นของขนมหวานสไตล์ไทยที่ควรจะฟื้นฟูให้มีประจำตามท้องถิ่นที่มากขึ้น
สามารถกดติดตาม กินอะไรดี
เมนูแนะนำ ขนมบัวลอย 3 เจ้าดัง หนึบหนับ หอมโดนใจ ขนมหวานโบราณที่สีสันน่าทาน